top of page
379208.jpg

เก็งกำไรยังต้องมี 1,500 จุดเป็นจุดหมุน


ปัจจัยต่างประเทศยังเป็นบวก!

ทิศทางของตลาดหุ้นโลกยังคงอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น โดยที่ในสัปดาห์ที่ผ่านมาดัชนี MSCI ACWI ซึ่งเป็นดัชนีถ่วงน้ำหนักของตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวขึ้น 1.22% และตั้งแต่ต้นปี 2564 ปรับตัวขึ้นมาแล้ว 3.61YTD % โดยตลาดหุ้นที่ Outperform ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้แก่ตลาดหุ้นสหรัฐ, Asia ex Japan และจีน ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.52%, 3.58% และ 1.73% หลังจากที่ Joe Biden เข้าพิธีสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐคนที่ 46 อย่างเป็นทางการ ขณะที่ตลาดเริ่มมองไปถึงการกระตุ้นเศรษฐกิจ หลังจากคณะรัฐบาลชุดใหม่จะเร่งผลักดันการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ โดยที่ประธานาธิบดี Joe Biden ได้นำเสนอมาตรการ "American Rescue Plan" วงเงิน 1.9 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งครอบคลุมถึงการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจากระดับ 7.25 ดอลลาร์/ชั่วโมงในปัจจุบัน สู่ระดับ 15 ดอลลาร์, การเพิ่มวงเงินในการส่งเช็คเงินสดให้แก่ชาวอเมริกันเป็นคนละ 2,000 ดอลลาร์ จากเดิมที่ได้คนละ 600 ดอลลาร์ และเพิ่มวงเงินช่วยเหลือคนตกงานเป็น 400 ดอลลาร์/สัปดาห์ โดยจะขยายโครงการช่วยเหลือดังกล่าวไปจนถึงสิ้นเดือน ก.ย.ปีนี้

สอดคล้องกับ Janet Yellen ว่าที่รัฐมนตรีคลังสหรัฐที่ได้เรียกร้องให้สภาคองเกรสเร่งอนุมัติมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงิน 1.9 ล้านล้านดอลลาร์ที่นำเสนอโดยประธานาธิบดี Joe Biden พร้อมกับเรียกร้องให้สมาชิกสภาคองเกรสผลักดันให้มีการออกมาตรการกระตุ้นเพิ่มเติม

ทั้งนี้ล่าสุดสำนักวิจัยอย่าง Goldman Sachs ได้ออกมาปรับเพิ่มคาดการณ์ GDP Growth ของสหรัฐในปี 2564 ขึ้นสู่ระดับ 6.6% จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ที่ 6.4% พร้อมกับคาดการณ์ว่าอัตราว่างงานของสหรัฐในปี 2564 จะอยู่ที่ 4.5% ซึ่งลดลงจากตัวเลขคาดการณ์เดิมที่ระดับ 4.8% ขณะที่ในฝั่งยุโรป และเอเชียก็มีปัจจัยหนุนเกี่ยวกับเศรษฐกิจเช่นกัน หลังจากที่ธนาคารกลางยุโรป หรือ ECB มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายและวงเงินในการซื้อพันธบัตรในการประชุม

นอกจากนี้ ECB ระบุว่าจะยังคงตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับปัจจุบัน หรือต่ำกว่าระดับดังกล่าว จนกว่าอัตราเงินเฟ้อปรับตัวขึ้นสู่เป้าหมายของ ECB ซึ่งระบุให้ "อยู่ใกล้ แต่ไม่เกิน 2%" ขณะที่ Christine Lagarde ประธาน ECB ระบุว่าจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่ที่เพิ่มขึ้น และการล็อกดาวน์จะส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจในระยะใกล้

ดังนั้น ECB ได้เตรียมที่จะให้การสนับสนุนเศรษฐกิจเพิ่มเติมหากจำเป็น ในฝั่งของเอเชียตัวเลข GDP Growth ของจีนที่ประกาศออกมาค่อนข้างน่าพอใจ โดยขยายตัว 2.3% ในปี 2563 ซึ่งสอดคล้องกับที่นักวิเคราะห์คาดว่า GDP จีนจะขยายตัวเกินหลัก 2% ส่วนในไตรมาส 4 ปี 2563 ตัวเลข GDP ของจีนขยายตัวถึง 6.5% ซึ่งดีกว่าในไตรมาส 3 ที่มีการขยายตัว 4.9%

ขณะที่ความเชื่อมั่นของนักลงทุนในตลาดหุ้นยังคงอยู่ในระดับสูง สะท้อนออกมาจากผลสำรวจความเชื่อมั่นของนักลงทุนสหรัฐจาก AAII ที่ระบุว่าในสัปดาห์ที่ผ่านมา สัดส่วนนักลงทุนที่เชื่อว่าตลาดหุ้นสหรัฐในระยะ 6 เดือนข้างหน้ายังคงเป็นขาขึ้น หรือ Bullish เพิ่มขึ้น 3.07% เมื่อเทียบจากสัปดาห์ที่ผ่านมา มาอยู่ที่ 45.20% โดยสัดส่วนนักลงทุนที่เชื่อว่าตลาดหุ้นสหรัฐในระยะ 6 เดือนข้างหน้ากำลังกลับเป็นขาลง หรือ Bearish ที่ ลดลง 1.80% เมื่อเทียบจากสัปดาห์ที่ผ่านมา มาอยู่ที่ 31.70%

แรงขายต่างชาติจะกดดันในตลาดหุ้นไทย ! อย่างไรก็ดีในส่วนของตลาดหุ้นไทยเริ่มที่จะเห็นแรงกดดันจากแรงขายของนักลงทุนต่างชาติแล้ว สะท้อนออกมาจากมูลค่าการซื้อขายของนักลงทุนต่างชาติในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ หรือ Emerging market ซึ่งมีประเทศไทยอยู่ในนั้นด้วยในสัปดาห์ที่ผ่านมา พบว่าตลาดหุ้นไทยมีมูลค่าการซื้อขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติ -84.1 ล้านดอลลาร์ ซึ่งแย่กว่าเมื่อเทียบกับมูลค่าซื้อขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในประเทศภูมิภาคเอเชียอื่นๆ อาทิ อินโดนีเซีย +58.0 ล้านดอลลาร์, ฟิลิปปินส์ -70.9 ล้านดอลลาร์ และเกาหลีใต้ +693.2 ล้านดอลลาร์ สอดคล้องกับการที่ในเชิงของเทคนิคที่ Indicator อย่าง MACD ของดัชนี Accumulated Foreign Fund Flow กลับมามีสัญญาณ Negative Convergence อีกครั้ง สะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มการไหลออกของเม็ดเงินจากนักลงทุนต่างชาติในตลาดหุ้นไทยในระยะสั้น

ขณะที่ในเชิงพื้นฐานปัจจุบันตลาดหุ้นไทยซื้อขายที่ระดับ P/E ratio ราว 26.2 เท่า ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 10 ปีที่ระดับ 17.0 เท่าค่อนข้างมาก หรือคิดเป็น Premium ที่ถึง 54.1% นอกนี้ถ้าเทียบกับระดับ P/E ratio ของดัชนี MSCI Asia ex Japan ที่ปัจจุบันอยู่ที่ 24.8 เท่าถือว่าตลาดหุ้นไทยมีความน่าสนใจน้อยกว่าเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นภูมิภาคโดยเฉลี่ย

ทั้งนี้ในเชิงเทคนิคของตลาดหุ้นไทย การที่ SET ไม่สามารถทะลุผ่าน 1,550 จุดไปได้ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้ “นายหมูบิน” มองว่าในระยะสั้น SET ยังคงอยู่ในทิศทางของการแกว่งตัวลงต่อได้ อย่างไรก็ดีตลาดหุ้นโลก และไทยยังคงมีแนวโน้มที่จะได้รับปัจจัยหนุนจากความเชื่อมั่นที่ดีขึ้นต่อความสามารถในการทำกำไรในตลาดหุ้นโลกด้วย สะท้อนจากการปรับประมาณการการเติบโตของกำไรสุทธิในปี 2564 หรือ Earnings Revision ขึ้นโดย Bloomberg Consensus ที่ในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับการประมาณการกำไรสุทธิของตลาดหุ้นโลกขึ้น +0.57% นำโดยตลาดหุ้นสหรัฐ +0.51%, ตลาดหุ้นยุโรป +0.40% WoW, ตลาดหุ้นญี่ปุ่น +0.54%, ตลาดหุ้นจีน -0.12% และตลาดหุ้นไทย +0.37%

ส่งผลให้แนวโน้มการขยายตัวของกำไรสุทธิในปี 2564 ของตลาดหุ้นไทยที่ Bloomberg Consensus ประเมินไว้ที่ 45.0% สูงกว่ามากเมื่อเทียบกับการขยายตัวของกำไรสุทธิในปี 2564 ของตลาดหุ้นโลกที่ +21.4%, ตลาดหุ้นสหรัฐที่ +19.2%, ตลาดหุ้นยุโรปที่ +35.1%, ตลาดหุ้นญี่ปุ่นที่ +5.1% และตลาดหุ้นจีนที่ +17.9% ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ “นายหมูบิน” มองว่าจะจำกัด Downside Risk ของตลาดหุ้นไทยได้ และการปรับตัวลงในระยะสั้นน่าจะเป็นการปรับตัวลดลงเพื่อขึ้นต่อ

ในส่วนของกลยุทธ์ สำหรับการลงทุนระยะสั้น (ไม่เกิน 1 สัปดาห์) ตราบใดที่ SET ยังคงไม่ลงไปปิดต่ำกว่า 1,500 จุดอีกครั้ง เน้น “เก็งกำไรระยะสั้น” โดยมี 1,500 จุดเป็นจุดหมุน และจุด Cut Loss ในหุ้น CPALL, BJC, BEM, CRC, AOT, GPSC, PTTGC, WHA และ BDMS อีกครั้ง สำหรับการลงทุนระยะกลาง (1-3 เดือน) ในลักษณะ Long-Only แนะนำ “คงสัดส่วนการลงทุนในหุ้นมาอยู่ที่ระดับ 25% ของพอร์ต”

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงแค่ความเห็นส่วนตัวของผมนะครับ โปรดใช้วิจารณญาณ และศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนการตัดสินใจลงทุนด้วยครับ สำหรับการพูดคุยกันระหว่างสัปดาห์นอกจากทาง Facebook ที่ www.facebook.com/wealthhuntersclub และ e-mail ที่ moobin.stockmania@gma “เซียนเศรษฐกิจ” ทุกวันอาทิตย์ เวลา 14.00-16.00 น. ทาง FM 97 เช่นเดิมครับ

 

ภาพประกอบ : การวิเคราะห์ทิศทางตลาดหุ้นไทยในทางเทคนิครายเดือน (Monthly)

Source: Wealth Hunters Club


8 views

Comments


bottom of page