top of page
379208.jpg

"พลังงาน" ร่วม กกพ.- 3 การไฟฟ้าเยียวยาค่าไฟช่วย 2 กลุ่มครัวเรือนขยายกลุ่มใช้ไฟฟรี 150 หน่วย



กระทรวงพลังงานเพิ่มมาตรการบรรเทาผลกระทบค่าไฟให้ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทครัวเรือนที่สนองนโยบายรัฐอยู่บ้านหยุดเชื้อเพื่อชาติ โดยแบ่ง 2 กลุ่ม กลุ่มแรกผู้ใช้ไฟฟรี จะขยายปริมาณการใช้ไฟให้จาก 90 หน่วย เป็น 150 หน่วย กลุ่มสอง ลดภาระค่าไฟครัวเรือนโดยยึดหน่วยการใช้ไฟเดือนก.พ.63 ก่อนเกิดโควิดเป็นเกณฑ์ หากใช้ไฟไม่เกิน 800 หน่วยจ่ายเท่าเดิมเท่ากับเดือนก.พ. หากเกิน 800 หน่วยมีส่วนลดปริมาณหน่วยการใช้ไฟฟ้าส่วนเกินโดยจะลดให้ 50%ของหน่วยไฟฟ้าที่เกิน และถ้าใช้มากเกิน 3,000 หน่วยมีส่วนลดปริมาณหน่วยการใช้ไฟฟ้าส่วนเกินโดยจะลดให้ 30%ของหน่วยไฟฟ้าที่เกิน มาตรการดังกล่าวจะมีผลตั้งแต่ มี.ค.-พ.ค.63 โดย กกพ. เตรียมสรุปเสนอที่ประชุม ครม. พรุ่งนี้เพื่อเร่งบรรเทาความเดือดร้อนประชาชน


วันนี้ (20 เม.ย.63) นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า กระทรวงพลังงานตระหนักถึงปัญหาของประชาชนในรายจ่ายด้านค่าไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้นจากมาตรการของภาครัฐที่ให้อยู่บ้านหยุดเชื้อเพื่อชาติด้วยการทำงานที่บ้าน (Work From Home) ในช่วงแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จึงได้เชิญหน่วยงานเกี่ยวข้องทั้งในสังกัดกระทรวงพลังงาน ได้แก่ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และหน่วยงานสังกัดกระทรวงมหาดไทย ได้แก่ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เพื่อพิจารณามาตรการบรรเทาผลกระทบด้านค่าไฟฟ้าเพิ่มเติมโ ดยที่ประชุมสรุปมารตการช่วยเหลือผู้ใช้ไฟประเภทครัวเรือนรวม 20 ล้านคน แบ่งมาตรการได้ดังนี้


กลุ่มประเภทอัตราค่าไฟ 1.1 ซึ่งเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าที่ติดตั้งเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าขนาดไม่เกิน 5 แอมแปร์ 230 โวลต์ 1 เฟส 2 สาย ซึ่งมีประมาณ 10 ล้านครัวเรือน จะขยายหน่วยการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจากเดิมให้ใช้ไฟฟรีที่ 90 หน่วย เป็น 150 หน่วย ตั้งแต่มี.ค.-พ.ค.63


กลุ่มประเภทอัตราค่าไฟ 1.2 กลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าที่ใช้ไฟฟ้าเกิน 150 หน่วยขึ้นไป ซึ่งติดตั้งเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า ขนาดเกินกว่า 5 แอมแปร์ 230 โวลต์ 1 เฟส 2 สาย จะช่วยเหลือโดยใช้หน่วยการใช้ไฟฟ้าของแต่ละครัวเรือนในเดือนก.พ.63 เป็นเกณฑ์ เพราะเป็นเดือนที่ยังไม่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 โดยมีการกำหนดมาตรการความช่วยเหลือเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายเป็นเวลา 3 เดือน มี.ค.-พ.ค.63 แบ่งตามระดับปริมาณการใช้ไฟฟ้า ได้ดังนี้


  • ครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 800 หน่วย จะจ่ายค่าไฟเท่ากับเดือน ก.พ. เช่น เดือนกุมภาพันธ์ใช้ไฟฟ้า 500 หน่วย และในเดือนมีนาคมมีการใช้ไฟฟ้า 700 หน่วย ซึ่งไม่เกิน 800 หน่วย จะจ่ายค่าไฟฟ้าคิดตามจำนวน 500 หน่วยเท่ากับเดือนกุมภาพันธ์

  • ครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าเกิน 800 หน่วย จะคำนวณหน่วยใช้ไฟฟ้าจากส่วนต่างที่เกินจาก 800 หน่วย โดยลดให้ 50%ของหน่วยที่ใช้เกิน เช่น เดือน ก.พ.ใช้ 500 หน่วย เดือน มี.ค.ใช้ 1,000 หน่วย ซึ่งเกินจาก 800 หน่วยตามเกณฑ์ ส่วนต่างหน่วยใช้ไฟฟ้าเมื่อเทียบจากกุมภาพันธ์ อยู่ที่ 500 หน่วย เมื่อลด 50% เท่ากับส่วนต่างใช้ไฟเพิ่ม 250 หน่วย นำส่วนต่าง 250 หน่วยรวมกับ 500 หน่วยที่ใช้ในเดือนฐาน ก.พ. ก็เท่ากับหน่วยไฟที่ใช้และนำคำนวณเป็นค่าไฟตามหลักเกณฑ์ของการไฟฟ้า เป็นจำนวน 750หน่วยที่จะใช้คำนวณค่าไฟฟ้าในเดือน มีนาคม

  • ครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้ามากคือใช้เกิน 3,000 หน่วย ก็จะมีส่วนลดให้ 30% ของหน่วยที่ใช้เกิน เช่น เดือนก.พ.ใช้ไฟ 1,200 หน่วย เดือนมี.ค.ใช้ 3,200 หน่วย ซึ่งเกินจาก 3,000 หน่วยตามเกณฑ์ ส่วนต่างหน่วยใช้ไฟฟ้าเมื่อเทียบจากกุมภาพันธ์ อยู่ที่ 2,000 หน่วย คิดส่วนลด 30% จาก 2,000 หน่วยคือ 600 หน่วย เท่ากับต้องเสียส่วนเพิ่มค่าไฟที่ 1,400 หน่วย และนำ 1,400 หน่วยไปบวกกับฐานการใช้ไฟ ก.พ. 1,200 หน่วย เท่ากับต้องจ่ายค่าไฟที่ 2,600 หน่วย สำหรับเดือนมีนาคม ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าวทั้งสองกลุ่มจะดำเนินการในการคิดค่าไฟฟ้า 3 เดือนคือ มี.ค.-พ.ค.2563 โดยหากมีการจ่ายค่าไฟในบิลเดือนมี.ค.หรือเม.ย.ไปแล้วจะมีการนำเงินคืนอัตโนมัติผ่านรอบบิลถัดไป “เป็นความตั้งใจของหน่วยงานของรัฐในการดูแลความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน โดยเมื่อมีปัญหาก็พยายามหาทางออกเพื่อแบ่งเบาภาระผลกระทบ ซึ่งเป็นที่มาของการประชุมในวันนี้ กระทรวงพลังงานคาดหวังว่าจะช่วยลดภาระให้ประชาชนลงได้ ซึ่งขั้นตอนจากนี้ ทาง กกพ. จะสรุปหลักเกณฑ์เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีทราบต่อไป ซึ่งคาดว่าจะนำเสนอได้ในการประชุมคณะรัฐมนตรีวันพรุ่งนี้ (21 เม.ย.63)” นายสนธิรัตน์กล่า

26 views

Comments


bottom of page